หน้าเว็บ

15 ก.ย. 2554

หลักการออกแบบทางหนีไฟ

การกำหนดหลักการออกแบบที่เรียกว่า Design Concept ควรจะกำหนดหัวข้อการป้องกันอัคคีภัยไว้ด้วย สถาปนิกสามารถกำหนด Design Concept ที่เอื้ออำนวยต่อการป้องกันอัคคีภัย ได้ดังนี้

1. การแบ่งพื้นที่ป้องกันไฟและควันไฟการแบ่งพื้นที่ป้องกันไฟและควันไฟ

ตัวอย่าง การออกแบบอาคารสำนักงานที่ส่วนล่าง 5 ชั้นเป็นธนาคาร และส่วนบน 25 ชั้นเป็นสำนักงานให้เช่าขนาดเล็กหน่วยละ5 ชั้นเป็นธนาคาร และส่วนบน 25 ชั้นเป็นสำนักงานให้เช่าขนาดเล็กหน่วยละ50 ตร.ม. การแบ่งพื้นที่ป้องกันไฟส่วนล่าง และส่วนบนออกจากกันด้วยพื้นที่ทานอาหาร สวน และสันฑนาการที่ใช้การระบายอากาศตามธรรมชาติ บริเวณโถงทางเดินในส่วนบนของอาคารเปิดเป็น Atrium แต่มีการเจาะใช้เป็นร่องข้างอาคารตลอดความสูง และเปิดช่องระบายอากาศที่ยอดอาคาร ผนังกั้นระหว่างหน่วยใช้ผนังยิปซั่ม ซึ่งกันไฟได้อย่างน้อย 1 ชั่วโมง ทางเดินสู่ทาง
หนีไฟมีลักษณะเป็นระเบียงภายนอกและนำสู่ทางหนีไฟ 2 ทาง 

2. การหนีไฟ

ตัวอย่าง อาคารที่มี Atrium ที่มีหลังคาปิด โดยหลังคาออกแบบให้เป็นโดมที่เป็นปริมาตรรับควัน (Smoke Reservoir) เพื่อชลอการกระจายควันไฟเข้าสู่ชั้นบนของอาคาร และจัดให้มีระบบระบายควันออกจากโดมนี้ ในกรณีที่มี Auditorium อยู่ในชั้นบน บันไดหนีไฟจะต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอในการหนีไฟสำหรับคนจำนวนมาก ทางหนีไฟมีอย่างน้อย 2 ทาง และมีประตูห้องที่มีคนเกิน 50 คน จะเปิดออกสู่ทางหนีไฟ

3. การระบายควันไฟการระบายควันไฟ

ตัวอย่าง การออกแบบระบบการระบายอากาศตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยในการระบายควันไฟเมื่อเกิดอัคคีภัย

13 ก.ย. 2554

มาตรฐานและกฎหมาย

พรบ.ควบคุมอาคาร.ควบคุมอาคาร

พรบ.ฉบับนี้ได้ประกาศใช้เป็นฉบับแรกในปี พ.ศ. 2522 และฉบับที่ 2 ในปี พ.ศ. 2535 เพื่อใช้ควบคุมการก่อสร้างอาคาร โดยมีกรมโยธาธิการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รับผิดชอบในการร่างกฎกระทรวง และมีคณะกรรมการควบคุมอาคาร ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมอาคาร ผู้แทนจากหน่วยงานราชการ และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ยกร่างและปรับปรุงกฎกระทรวง ในขณะนี้ กำลังพิจารณากฎกระทรวงใหม่ ภายใต้พรบ.ควบคุมอาคารฉบับที่ 3.
ในปัจจุบัน มีกฎกระทรวงอยู่ 51 ฉบับ และกฎกระทรวงฉบับที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัยที่สำคัญได้แก่
ฉบับที่ 33( 2535 ) - ข้อกำหนดสำหรับอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ
ฉบับที่ 39( 2537 ) - ข้อกำหนดสำหรับห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว บ้านแฝด อาคารชุมนุม อาคารอยู่อาศัยเกิน 4 หน่วย หอพัก อาคารที่สูงเกิน 3
ฉบับที่ 47( 2540 ) - ข้อกำหนดสำหรับอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ อาคารอยู่อาศัยรวม โรงงาน ภัตตาคาร สำนักงาน (อาคารเก่า)
ฉบับที่ 48( 2540 ) - ข้อกำหนดอัตราการทนไฟของโครงสร้างอาคาร
ฉบับที่ 50( 2540 ) - มีข้อกำหนดเพื่อปรับปรุงข้อกำหนดในกฎกระทรวงที่ 33
พรบ.ฉบับนี้ไม่ครอบคลุมการใช้งานประจำวัน จึงไม่มีการตรวจสอบการทำงานของระบบความปลอดภัยว่าทำงานได้หรือไม่ ส่วนใหญ่ ระบบดังกล่าว จึงถูกละเลย และมักจะไม่อยู่ในสภาพ ที่พร้อมที่จะใช้งาน อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่ายินดีที่มีข่าวว่าใน พรบ..ฉบับนี้ไม่ครอบคลุมการใช้งานประจำวัน จึงไม่มีการตรวจสอบการทำงานของระบบความปลอดภัยว่าทำงานได้หรือไม่ ส่วนใหญ่ ระบบดังกล่าว จึงถูกละเลย และมักจะไม่อยู่ในสภาพ ที่พร้อมที่จะใช้งาน อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่ายินดีที่มีข่าวว่าใน พรบ.ควบคุมอาคารฉบับที่ 3 จะให้ความสำคัญเรื่องการตรวจสอบระบบความปลอดภัยของอาคาร และ ยังจะมีข้อกำหนดเรื่องการให้มีการประกันภัยสำหรับผู้ใช้อาคาร ซึ่งจะมีผลทำให้การประกันภัย เห็น ความสำคัญ ของชีวิตมากขึ้น จากเดิมที่ให้ความสำคัญเฉพาะทรัพย์สิน และจะมีข้อกำหนดเพื่อให้มีการตรวจสภาพอาคารและการต่ออายุการใช้อาคาร ซึ่งจะ ลดการลักลอบ ดัดแปลงการใช้อาคาร และจะทำให้เกิดมาตรการเพื่อดูแลให้ระบบความปลอดภัยอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้  

10 ก.ย. 2554

การป้องกันอัคคีภัย

จะเริ่มที่โครงสร้าง และ งาน สถาปัตยกรรม ซึ่งอยู่ในส่วน PASSIVE โดยทำ ส่วนนี้ ให้ดีก่อน แล้วจึงจัดทำระบบป้องกันอัคคีภัย ซึ่งอยู่ในส่วน ACTIVE หลักการ ที่สำคัญ ในการป้องกัน อัคคีภัย คือPASSIVE โดยทำ ส่วนนี้ ให้ดีก่อน แล้วจึงจัดทำระบบป้องกันอัคคีภัย ซึ่งอยู่ในส่วน ACTIVE หลักการ ที่สำคัญ ในการป้องกัน อัคคีภัย คือ
 1. ต้องเข้าใจธรรมชาติของไฟ ที่สามารถ เติบโต จากเพลิงขนาดเล็กเป็นเพลิงขนาดใหญ่ได้ภายในเวลาไม่กี่นาที และเพลิงขนาดเล็กดับง่าย แต่เพลิงขนาดใหญ่ดับยาก

2. จะทำอย่างไร ที่จะจำกัดขนาด ของเพลิงและการแพร่ขยาย ของควันไฟและ ความร้อน
3. ระบบเตือนภัย จะต้องสามารถจับการเกิดควันไฟ และส่งสัญญาณได้อย่างทั่วถึง
4. เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะต้องเข้าถึงจุดเกิดเหตุให้เร็วที่สุด มีพื้นที่ปฏิบัติการและมีอุปกรณ์พร้อม
5. คนจะต้องหนีออกจากจุดเกิดเหตุในเวลาเพียงไม่กี่นาทีและหนีออกจากอาคารในเวลามากที่สุดไม่เกิน 1 ชั่วโมง ทางหนีไฟและบันไดหนีไฟจะต้องสะดวกและปลอดภัย เมื่อ หนี ออกจาก อาคารแล้ว ควรจะเตรียมพื้นที่รองรับที่เพียงพอ เพื่อการพยาบาลและตรวจสอบผู้สูญหาย
6. จะควบคุมควันไฟ ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตได้อย่างไร และจะป้องกันการเกิดควันพิษได้อย่างไร
7. การดับเพลิงใน อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษจะต้องดับจากภายในอาคาร เรื่องการติดตั้งระบบหัวกระจายนำอัตโนมัติหรือ ระบบสปริงเกลอร์ ก็มักจะสร้างภาพ กันว่า ระบบนี้ เป็นระบบ ที่มีราคาแพงมาก ซึ่งโดยความเป็นจริง การเดินท่อ และ ติดตั้งหัวสปริงเกลอร์จะ ตกประมาณ 500-550 บาท/ตรม. เท่านั้น ในขณะที่ระบบสปริงเกลอร์สามารถช่วยจำกัดการขยายตัวของเพลิงในระยะเริ่มต้นได้เป็นอย่างดี ประหยัด ค่าหินอ่อน หรือ กระจก ลงเสียบ้าง ก็พอกับค่าติดตั้งระบบสปริงเกลอร์แล้ว

6 ก.ย. 2554

การป้องกันอัคคีภัยสำหรับอาคารต่างๆ



ในยุโรป ในสหรัฐอเมริกา ในสิงค์โปร์ มาเลเซียและฮ่องกง คนที่ประกอบวิชาชีพ ทางด้าน สถาปัตยกรรม จะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนด ทางด้านการ ป้องกันอัคคีภัย อันเป็น ข้อกำหนดส่วนที่สำคัญที่สุดในการออกแบบอาคาร ข้อกำหนดบทแรกๆในArchitectural Building Codes ก็คือ Fire Safety Codes and Regulation ในประเทศไทย ยังไม่มี หลักสูตรทางด้านการป้องกันอัคคีภัยในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ ) ก็ได้เคยมีนโยบาย สวัสดิศึกษา เพื่อให้มีกา รสอนเรื่อง ความปลอดภัย ในสถานศึกษา และ หวังว่าในอนาคต ทบวงมหาวิทยาลัย และ กระทรวงศึกษาฯ ก็คงจะเห็น ความสำคัญ และ กำหนดให้มีหลักสูตรนี้เพิ่มใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ รวมทั้ง การศึกษา ในระดับโรงเรียน ต่อไป ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่เริ่มให้มีหลักสูตรทางด้านนี้

ทำไมสถาปนิกจึงต้องรู้เรื่องการป้องกันอัคคีภัย
เพราะการออกแบบอาคาร เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้อาคารปลอดภัย หากเริ่มออกแบบด้วยหลักการที่ถูกต้อง อาคาร ก็จะปลอดภัยด้วยตัวของมันเอง แต่หากเริ่มต้นไม่ดี ก็จะทำให้อาคารนั้นเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย และเกิดการสูญเสียมากกว่าที่ควรความสูญเสีย จากเหตุการณ์ที่ โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ ซึ่งเป็นเหตุให้คนงานเสียชีวิตถึง 200 คน เป็นบทเรียนราคาแพง เป็นตัวอย่าง ของการออกแบบ โดยขาดความรู้เรื่องการทนไฟของโครงสร้างอาคาร และการจัดทางหนีไฟ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้มี ข้อกำหนดเรื่อง อัตราการทนไฟ ในกฎกระทรวงฉบับที่ 48 (2540) และทำให้กระทรวงแรงงานฯกำหนดให้วันที่ 8-10 พ.ค.ทุกปี เป็นวันความปลอดภัย เพื่อ ระลึกถึง เหตุการณ์ครั้งนี้ความสูญเสีย จาก เหตุการณ์ที่ โรงแรมรอยัลจอมเทียน พัทยา เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2540 ซึ่งเป็นเหตุให้พนักงาน กฟผ. บ.เสริมสุข และแขกของโรงแรมเสียชีวิต 90 คน บาดเจ็บ 51 คน ก็เป็นบทเรียนหนึ่งที่มีราคาแพง และเป็นอีกตัวอย่างของการออกแบบโดยขาดความรู้เรื่องทางหนีไฟ การปิดล้อมบันได และช่องท่อ ผนังและประตูทนไฟ รวมทั้งระบบป้องกันอัคคีภัย เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดการพิจารณาปรับปรุงกฎกระทรวง และข้อกำหนดใหม่ๆอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะกฎกระทรวงฉบับที่ 47 (2540) ที่เน้นเรื่องการให้มีบันไดหนีไฟและการปิดล้อมบันไดโดยมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ใช้บังคับกับอาคารเก่า นอกจากนี้ ยังจะทำให้มีข้อกำหนดที่ให้มีการประกันภัยให้กับผู้ใช้อาคาร และข้อบังคับให้มีการตรวจสอบอาคารและการต่ออายุการใช้อาคาร ซึ่งนับเป็นข้อกำหนดที่จะทำให้อาคารจะต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงขึ้นการแก้ปัญหาด้วยการออกกฎหมาย ไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหา ตราบใดที่สถาปนิกยังแนะนำให้เจ้าของอาคารเลี่ยงกฎหมายอยู่ เช่น การสร้างอาคาร 1950 ตรม. สร้างอาคาร 9900 ตรม. หรือสูง 22.50 ม. เพียงเพื่อต้องการเลี่ยงข้อกำหนดในกฎหมาย โดยไม่ได้พิจารณาว่าอาคารหลังนั้น เป็นอาคารที่มีความเสี่ยงหรือไม่ หรือ หุ้มคานด้วยวัสดุทนไฟเฉพาะคานที่อยู่หัวเสา แต่ไม่หุ้มกันไฟที่คานรอง ทั้งๆที่ก็เป็นคานที่รับน้ำหนักเหมือนกัน หรืออ้างว่าการที่มีฝ้าเพดานยิปซั่มใต้โครงหลังคาก็ถือว่า
เป็นการหุ้มกันไฟโครงหลังคาที่เพียงพอแล้วผู้ออกแบบอาคารคือผู้รับใช้สังคมและจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมสถาปนิกไม่ควรโยนความรับผิดชอบเรื่องการป้องกันอัคคีภัยไปที่ผู้อื่น ไม่สมควรอ้างว่าที่ออกแบบไปอย่างนั้น เพราะเป็นความต้องการของเจ้าของ ไม่ควรอ้างว่า ใส่บันไดหนีไฟไม่ได้เพราะเนื้อที่จำกัด ไม่ควรโยนเรื่องการวางผังทางหนีไฟไปที่วิศวกร ไม่ควรมองว่าข้อกำหนดทางด้านการป้องกันอัคคีภัยสร้างความยุ่งยากและสร้างข้อจำกัดในการออกแบบ อย่าลืมว่า คนที่ท่านรักก็
อาจจะเป็นผู้ใช้อาคารที่ท่านออกแบบไว้ด้วยเช่นกันสถาปนิก จะต้องศึกษามาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหากเห็นว่ามาตรฐานและกฎหมายควรจะมีการปรับปรุง ก็ควรจะเสนอข้อความใหม่พร้อมเหตุผลผ่านสมาคมสถาปนิกสยามหรือสมาคมวิศวกรรมสถานฯ ซึ่งก็เป็นวิธีการเดียวกันกับการพัฒนา

มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยในสหรัฐอเมริกา

ในอนาคต ยังหวังกันว่า กฎหมายจะมีลักษณะเอื้อกับการออกแบบในลักษณะ Performance Base Design ซึ่งทำให้การออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยอาศัยเหตุผลและหลักการทางด้านวิทยาศาสตร์ และต่างจากปัจจุบันที่มีลักษณะการออกแบบตามข้อบังคับ แต่ถึงตอนนั้น ผู้ออกแบบ จะต้องพิสูจน์ ความเป็นมืออาชีพและมีดวงดาวยาบรรณกว่าในปัจจุบันนี้ ออสเตรเลียเป็นประเทศแรกที่ใช้หลัก Performance Base Design แต่ก็พบปัญหาที่ผู้ออกแบบ อาศัยหลักนี้ใน การหลีกเลี่ยง การติดตั้ง
ระบบป้องกันอัคคีภัย จึงต้องมีกรรมการพิจารณาก่อนการอนุมัติ บริษัทที่ปรึกษาฝรั่งที่มาทำโครงการในประเทศไทย ก็เคยอ้างหลักการนี้ ซึ่งเราก็ต้อง ระวังไม่ให้ถูก ฝรั่งหลอก เอาเหมือนกัน