ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือ ระบบที่สามารถตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้และแจ้งผลให้ผู้อยู่ในอาคารทราบโดยอัตโนมัติและแจ้งเหตุได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและมีความเชื่อถือได้สูง เพื่อให้ผู้อาศัยในอาคารหนีไฟไปยังที่ปลอดภัยสูงขึ้น เป็นผลให้ลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้มากระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้มีทั้งระบบที่ทำงานเป็นอิสระและระบบที่ทำงานร่วมกับระบบรักษาความปลอดภัยอื่นๆการออกแบบและติดตั้งระบบสัญญาณแงเหตุเพลิงไหม้จึงต้องมีข้อมูลพร้อมทั้งข้อมูลของตัวระบบเอง และลักษณะอาคารหรือพื้นที่ๆใช้งาน
1. ความรู้ทั่วไป
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือ ระบบที่สามารถตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้และแจ้งผลให้ผู้อยู่ในอาคารทราบโดยอัตโนมัติและแจ้งเหตุได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและมีความเชื่อถือได้สูง เพื่อให้ผู้อาศัยในอาคารหนีไฟไปยังที่ปลอดภัยสูงขึ้น เป็นผลให้ลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้มาก ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้มีทั้งระบบที่ทำงานเป็นอิสระและระบบที่ทำงานร่วมกับระบบรักษาความปลอดภัยอื่นๆ การออกแบบและติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้จึงต้องมีข้อมูลพร้อมทั้งข้อมูลของตัวระบบเอง และลักษณะอาคารหรือพื้นที่ที่ใช้งาน
2. พัฒนาการของเพลิงไหม้
การเกิดเพลิงไหม้เริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อนและขยายใหญ่ขึ้น มีความร้อนสูงขึ้น และลุกลามออกไปเรื่อยๆ การศึกษาการเกิดเพลิงไหม้จะทำให้ทราบลักษณะของการเกิดเพลิงไหม้ การเกิดเพลิงไหม้สามารถแบ่งออกเป็นระยะต่างๆ 4 ระยะ คือ
2.1 ระยะเริ่มต้น (Incipient Stage) เป็นระยะเมื่อเริ่มเกิดเพลิงไหม้ จะเริ่มด้วยการสลายตัวของวัสดุเนื่องจากความร้อน ระยะนี้จะเกิดเป็นอนุภาคเล็กๆ จำนวนมาก อนุภาคอาจจะมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน (หนึ่งไมครอนมีขนาดเท่ากับเศษหนึ่งส่วนล้านเมตร) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อนุภาคเหล่านี้มีทั้งอนุภาคที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ระยะนี้จึงไม่สามารถทราบได้ว่าเกิดเพลิงไหม้
2.2 ระยะเกิดควัน (Visible Smoke) จากระยะเริ่มต้น หากการเกิดเผาไหม้ยังคงดำเนินต่อไป จะเกิดควันที่สามารถมองเห็นได้ อนุภาคที่เกิดจากความร้อนจะมีจำนวนมากขึ้นจนทำให้สามารถมองเห็นได้ ระยะนี้ยังไม่มีความร้อนมากพอที่จะทำให้การลุกไหม้ดำเนินต่อไปได้
2.3 ระยะเกิดเปลวเพลิง (Flaming Fire) เมื่อสะสมจนมีความร้อนมากพอ อนุภาคที่มีร้อนมากจะลุกติดไฟ
และเกิดเป็นเปลวเพลิงหรือเปลวไฟ เปลวไฟนี้จะมีพลังงานมากพอที่จะจุดติดอนุภาคอื่นๆ ให้ลุกติดไฟต่อไปได้ เรียกว่าเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ความร้อนจะสูงขึ้น และการเกิดเพลิงไหม้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ
2.4 ระยะความร้อนสูง (Intense Heat) เมื่อการเกิดเพลิงไหม้ขยายใหญ่ขึ้น ปริมาณความร้อนที่เกิดก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ระยะนี้เป็นระยะที่ก่อให้เกิดความเสียหายสูง การดับเพลิงทำได้ยาก
3. การทำงานของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ร่วมกับระบบป้องกันอัคคีภัยอื่นๆ
โดยปกติระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัยสามารถจัดให้ทำงานร่วมกันได้ แต่ในการเลือกใช้ ควรพิจารณาจากความเหมาะสมในการติดตั้ง แก้ไขและบำรุงรักษา ความแม่นยำ ประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการตรวจสอบเมื่อการทำงานบกพร่อง ที่สำคัญต้องไม่กระทบต่อหน้าที่หรือการทำงานตามปกติของอุปกรณ์อื่น
3.1 ทำงานร่วมกับระบบดับเพลิงด้วยสารดับเพลิงพิเศษ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปแจ้งให้ระบบดับเพลิงปล่อยก๊าซ โฟม หรือสารเคมีประเภทอื่นๆ เพื่อดับเพลิง
3.2 ทำงานร่วมกับระบบลิฟท์ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปแจ้งให้ลิฟท์ทุกชุดในอาคารลงจอดที่ระดับชั้นล่าง ระดับพื้นดินหรือชั้นที่กำหนด เพื่อให้คนออกจากลิฟท์
3.3 ทำงานร่วมกับระบบพัดลมอัดอากาศ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปแจ้งให้ระบบพัดลมอัดอากาศทำงาน อัดอากาศลงมาในช่องบันไดหนีไฟเพื่อไม่ให้ควันเข้าไปในบันไดหนีไฟ
3.4 ทำงานร่วมกับระบบดับเพลิงของอาคาร เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปให้ระบบ Fire Pump, Jockey Pump ทำงาน
3.5 ทำงานร่วมกับระบบควบคุมควันไฟ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปให้ระบบควบคุมควันไฟ เครื่องส่งลมเย็น ลิ้นกันไฟ และลิ้นกันควันทุกชุดทำงานตามที่กำหนด เพื่อไม่ให้ควันกระจายไปในบริเวณอื่น
3.6 ทำงานร่วมกับระบบปิดประตู แผงกั้นไฟ และระบบปลดล็อกประตูอัตโนมัติ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปให้ระบบปิดประตู แผงกั้นไฟ และระบบปลดล็อกประตูอัตโนมัติทำงาน เพื่อให้คนอพยพออกมาได้อย่างปลอดภัย
4. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ
เป็นอุปกรณ์เริ่มสัญญาณที่ทำงานโดยอาศัยการกระตุ้นจากบุคคล โดยการดึง หรือทุบกระจกให้แตก มีลักษณะเป็นสวิตช์ไฟฟ้า ลักษณะการทำงานนี้เป็นแบบจังหวะเดียว (Single Action) หรือผู้ที่ต้องการแจ้งเหตุเพลิงไหม้จะต้องทุบกระจกให้แตกแล้วค่อยดึง ลักษณะการทำงานนี้เป็นแบบสองจังหวะ (Double Action) การปรับตั้งใหม่ (Reset) จะทำได้โดยต้องใช้เครื่องมือประกอบ เช่น ใช้กุญแจ ไขควง หรือประแจ เป็นต้น
Key Switch เป็นอุปกรณ์แจ้งเหตุ Alarm ลักษณะคล้ายกุญแจ ทำงานจังหวะเยวโดยการบิดไปทางซ้ายหรือขวา การ Reset ทำโดยการบิดกลับตำแหน่งเดิม
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น