หน้าเว็บ

31 ส.ค. 2554

ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ 2

5. อุปกรณ์ตรวจจับควัน
5.1 ชนิดของอุปกรณ์ตรวจจับควัน แบ่งตามการตรวจจับควันออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดไอโอไนเซชั่น (Ionization type) และชนิดโฟโตอิเล็กตริก (Photoelectric type)
5.1.1 ชนิดไอโอไนเซชั่น เป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันประกอบด้วยกล่องที่ภายในมีแผ่นโลหะที่มีขั่วไฟฟ้าต่างกันและมีสารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive) ซึ่งจะทำหน้าที่กระตุ้นให้อากาศภายในกล่อง (Chamber) เกิดการแตกตัว ไอออนของอากาศในกล่อง จะทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ระหว่างสองขั้ว เมื่อมีควันเข้าไปในกล่อง ค่าความนำไฟฟ้าของอากาศจะลดลง กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านจะลดลงด้วย เมื่อกระแสลดลงถึงค่าที่ตั้งไว้ แผงควบคุมจะสามารถตรวจค่านี้ได้และทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้ต่อไป
5.1.2 ชนิดโฟโตอิเล็กตริก สามารถตรวจจับควันที่หนาทึบได้ดี มีหลักการทำงานสองแบบ คือ แบบควันบังแสง และแบบควันหักเหแสง
(1) แบบควันบังแสง (Light Obscuration) ลักษณะการทำงานจะมีแหล่งกำเนิดแสงและตัวรับแสง ปกติปริมาณแสงที่ตัวรับแสงได้จะมีค่าแน่นอนอยู่ค่าหนึ่ง เมื่อมีควันเข้าไปในกล่อง แสงที่ส่องไปกระทบตัวรับแสงจะถูกบังด้วยอนุภาคของควัน เมื่อต่ำถึงค่าที่ตั้งไว้อุปกรณ์ตรวจจับจะตรวจได้และทำงาน โดยปกติสีของควันจะไม่มีผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ อุปกรณ์ตรวจจับแบบนี้ที่ใช้ทั่วไปจะเป็นแบบลำแสง (Beam Smoke Detector) ทำงานโดยที่แหล่งกำเนิดแสงจะส่องแสงผ่านพื้นที่ที่ต้องการป้องกันตรงไปที่ติดตั้งห่างออกไป ส่วนประกอบจะมีตัวฉายแสงและตัวรับแสงแยกเป็นคนละตัวกัน
(2) แบบควันหักเหแสง (Light Scattering)

6. อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้
เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้และอุปกรณ์ตรวจจับสามารถตรวจจับได้แล้ว อุปกรณ์แจ้งเหตุจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณเตือนภัยให้ผู้อาศัยในอาคารทราบเหตุ แต่สิ่งสำคัญคือ การแจ้งเหตุต้องให้ผู้อาศัยในอาคารทราบอย่างทั่วถึง สามารถแจ้งเหตุได้รวดเร็วเพื่อให้ผู้อาศัยมีเวลาในการดับเพลิง หรือมีเวลาพอสำหรับการอพยพหนีไฟ
อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียงและอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสง อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียง เช่น กระดิ่ง หวูด ไซเรน และลำโพง และชนิดที่แจ้งเหตุด้วยแสง เช่น สโตรบ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสงนี้จะใช้กับสถานที่ที่มีเสียงดังมากไม่สามารถแจ้งเหตุด้วยเสียงได้ หรือในสถานที่ที่มีบุคคลที่มีปัญหาการได้ยินอาศัยอยู่ หรือในสถานพยาบาล ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุจำนวนมากมักมีปัญหาการได้ยิน การแจ้งเหตุด้วยแสงจึงมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก
6.1 การแจ้งเหตุด้วยเสียง คือการส่งสัญญาณเสียงเตือนขณะเกิดเหตุเพื่อให้ผู้อาศัยทราบและสามารถอพยพได้ทัน
การตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษา
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องมีการตรวจสอบและทดสอบทั้งเมื่อทำการติดตั้งแล้วเสร็จและตามระยะเวลาที่เหมาะสม จุดประสงค์เพื่อให้ระบบใช้งานได้ดีตามต้องการ มีความเชื่อถือได้สูง และอยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์เมื่อเกิดเหตุ การดำเนินการควรเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของอาคาร ผู้ดูแล

6.2 การแจ้งเหตุด้วยแสง การแจ้งเหตุด้วยแสง คือ การส่งสัญญาณเตือนด้วยแสงกระพริบที่มีความสว่างเพียงพอที่จะกระตุ้นเตือนให้ผู้อาศัยในอาคารทราบการเกิดเหตุ และในกรณีที่มีคนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงต้องใช้แสงแทน


7.อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรวจจับความร้อนของวัตถุที่ถูกไฟไหม้ ความร้อนจากการเผาไหม้ของวัตถุ เกิดจากการเพิ่มขึ้นของพลังงานและเป็นสาเหตุให้วัตถุมีอุณหภูมิสูงขึ้น อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนสามารถตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้ที่ให้ความร้อนสูงอย่างรวดเร็วและมีควันน้อยได้เร็วกว่าอุปกรณ์ตรวจจับควัน หรือใช้เพื่อป้องกันเพิ่มเติมจากอุปกรณ์ตรวจจับควันก็ได้ แต่จะใช้แทนอุปกรณ์ตรวจจับควันไม่ได้
7.1 หลักการทำงาน
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนทำงานจากความร้อนที่ตรวจจับได้ แบ่งลักษณะการตรวจจับออกเป็น 2 แบบ คือ แบบอุณหภูมิคงที่ (Fixed Temperature ) และแบบอัตราเพิ่ของอุณหภูมิ และแบบอัตราเพิ่ของอุณหภูมิ ( Rated-of-Rise ) อุปกรณ์ตรวจจับบางตัวจะทำงานได้ทั้งสองหน้าที่
7.1.1 แบบอุณหภูมิคงที่ ( Fixed Temperature ) เป็นอุปกรณ์ที่ตรวจจับแบบที่ง่ายที่สุด จะทำงานเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึงจุดที่ตั้งไว้ ที่ใช้งานทั่วไปจะเริ่มตั้งแต่ 58 องศาเซลเซียส ( 135 องศาฟาเรนไฮท์ ) ขึ้นไป อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละมาตรฐานการผลิต
7.1.2 แบบอัตราเพิ่มของอุณหภูมิ ( Rated-of-Rise ) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบอัตราเพิ่มของอุณหภูมิทำงานเมื่อการเพิ่มของอุณหภูมิสูงเกินอัตราพิกัดที่กำหนดเช่น 8.5 องศาเซลเซียสต่อนาที ( 15 องศาฟาเรนไฮท์ต่อนาที )
7.1.3 อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบผสม ( Combination ) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบผสม เป็นการผสมการทำงานระหว่างแบบอุณหภูมิคงที่และแบบอัตราเพิ่มของอุณหภูมิ เมื่อค่าใดค่าหนึ่งเป็นไปตามที่กำหนด อุปกรณ์จะทำงาน อุปกรณ์ตรวจจับแบบนี้จึงสามารถตรวจจับความร้อนได้ดีกว่าแบบอุณหภูมิคงที่

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น