หน้าเว็บ

3 ส.ค. 2554

Fire Hydrant System

ระบบท่อน้ำดับเพลิงรอบนอกอาคาร(Fire Hydrant System)

ลักษณะทั่วไป

1. ขนาดของท่อต่อทางน้ำเข้าของหัวดับเพลิงกับระบบท่อน้ำ จะต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า150 มิลลิเมตรโดยมีวาล์วควบคุมที่จุดต่อหัวจ่ายน้ำดับเพลิงกับท่อน้ำดับเพลิง

2. ชนิดของหัวจ่ายน้ำดับเพลิงจะต้องเป็นแบบเปียกเท่านั้น (Wet-Barrel)

3. จำนวนหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง (Hose Outlet) ให้มีไม่น้อยกว่า 1 หัว

4. หัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงจะต้องเป็นหัวต่อสวมเร็วชนิดตัวเมียพร้อมฝาครอบและโซ่

5. ให้มีวาล์วปิด-เปิดขนาด 65 มิลลิเมตร(2 ½ นิ้ว) ติดตั้งที่หัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง

ตำแหน่งหัวจ่ายน้ำดับเพลิงรอบนอกอาคาร
1. ที่ติดตั้งหัวจ่ายน้ำดับเพลิงต้องห่างจากอาคารที่ป้องกันไม่น้อยกว่า 12 เมตร (50 ฟุต)

2. กรณีไม่สามารถติดตั้งห่างจากอาคารเกิน 12 เมตร กำหนดให้ติดตั้งใกล้อาคารได้ ถ้าผนังของอาคารเป็นผนังทนไฟหรือติดตั้งใกล้กับส่วนที่เป็นบันไดหรือมุมอาคารซึ่งผนังดังกล่าวในส่วนนี้ต้องไม่พังลงได้โดยง่ายเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้

3. ระยะห่างระหว่างหัวดับเพลิงแต่ละหัวจะต้องไม่เกิน 150 เมตร (500 ฟุต)

การติดตั้งหัวจ่ายดับเพลิง




      หัวจ่ายน้ำดับเพลิงต้องติดตั้งอย่างมั่นคงแข็งแรงโดยรองรับข้างใต้ด้วยฐานคอนกรีต ความสูงของหัวจ่ายน้ำดับเพลิง จะต้องสูงไม่น้อยกว่า0.60 เมตร วัดจากแนวศูนย์กลางของหัวต่อสายฉีดน้ำถึงระดับดิน หัวจ่ายน้ำดับเพลิงจะต้องป้องกันการรุดเสียหายที่อาจเกิดจากการกระแทกโดยการจัดทำแนวกั้น หัวจ่ายน้ำดับเพลิงจะต้องถูกยึดติดกับท่อน้ำดับเพลิงด้วยระบบข้อต่อแบบหน้าแปลนเท่านั้น และให้ทำการป้องกันแรงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนทิศทางของน้ำดับเพลิงด้วย ให้ทดสอบการทำงานของหัวดับเพลิงทุกหัว อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

ตู้เก็บสายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์
1. เตรียมสายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ให้มีจำนวนเพียงพอสำหรับบุคลากรหรือพนักงานดับเพลิงใช้งาน

2. จำนวนและชนิดของสายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ ให้พิจารณาจากจำนวนและตำแหน่งของหัวดับเพลิงที่มีใช้งานสัมพันธ์กับพื้นที่หรืออาคารที่ป้องกันการขยายตัวของเพลิงไหม้ และขีดความสามารถของผู้ใช้ในพื้นที่นั้น ๆ

3. จำนวนและชนิดของสายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ อาจจะต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานดับเพลิง

4. สายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ให้เก็บไว้ภายในบริเวณที่สามารถเข้าถึงและหยิบใช้ได้โดยง่าย อุปกรณ์ทั้งหมดจะต้องบรรจุภายในตู้ที่เห็นได้โดยง่าย

5. ข้อต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง ให้เป็นชนิดข้อต่อสวมเร็วทั้งสองปลาย

ตำแหน่งและการสร้างตู้
      ให้ติดตั้งตู้เก็บสายฉีดน้ำดับเพลิงใกล้กับหัวจ่ายน้ำดับเพลิงมากที่สุดหรือติดตั้งไว้ข้างหัวจ่ายน้ำดับเพลิงโดยตรง ตู้เก็บสายฉีดน้ำดับเพลิงจะต้องถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน ภายในตู้เก็บสายฉีดน้ำดับเพลิงจะต้องมีช่องระบายอากาศ สีของตัวตู้จะต้องเป็นชนิดที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม

ขนาดของตู้และอุปกรณ์ภายใน
      ขนาดของตัวตู้จะต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะบรรจุอุปกรณ์ต่างๆ ได้พอเพียง หรือจัดทำเป็นชั้นวางหรือที่ยึดอุปกรณ์ต่างๆ ได้ โดยอุปกรณ์ภายในตู้จะต้องมี

1. สายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 2 ½ นิ้วยาวไม่น้อยกว่า 30 เมตร อย่างน้อย 1 เส้น

2. หัวฉีดน้ำดับเพลิงที่สามารถปรับการฉีดเป็นลำตรงและเป็นฝอยได้ อย่างน้อย 1 หัว

3. หัวต่อลดขนาด 2 ½ นิ้ว x 1 ½ นิ้วอย่างน้อย 1 หัว

4. ขวานเหล็กและชะแลงเหล็ก อย่างละ 1 อัน

การตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบป้องกันอัคคีภัย

      การตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบป้องกันอัคคีภัยที่ติดตั้งอยู่ภายในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีวามสำคัญอย่างมากเนื่องจากขั้นตอนการตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาจะทำให้ระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีอยู่มีความพร้อมในการใช้งานในกรณีที่มีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นซึ่งระบบป้องกันอัคคีภัยเหล่านั้นจะสามารถทำการดับเพลิงได้อย่างมีระสิทธิภาพ ดังนั้นผู้มีหน้าที่ทำการตรวจสอบจะต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีอยู่ทั้งหมดอย่างละเอียด ทั้งนี้ มีรายการอุปกรณ์สำคัญๆ ที่จะต้องตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษา ได้แก่

1. ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง

2. ระบบท่อยืน

3. ท่อจ่ายน้ำดับเพลิง

4. เครื่องสูบน้ำดับเพลิง

5. ถังเก็บน้ำดับเพลิง

      ในการทดสอบ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา ต้องทำตามแบบฟอร์มที่กำหนดขึ้นมาตามลักษณะ ประเภท การติดตั้ง รวมถึงช่วงเวลาหรือความถี่สำหรับระบบป้องกันอัคคีภัยแต่ละแบบที่แตกต่างกันออกไปแบบฟอร์มสำหรับการทดสอบ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา เป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งมีมาตรฐานเพื่อใช้อ้างอิงภายหลังได้ แต่ควรจะพิจารณาเลือกใช้แบบฟอร์มที่ถูกต้องตรงตามกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในสถานประกอบการ ประการสำคัญ จะต้องมีการบันทึกผลอย่างครบถ้วนและจัดเก็บไว้อย่างดีเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่และทุกเวลาที่ต้องการ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น