บล็อกที่รวบรวมเรื่องราวความรู้ของอัคคีภัย สาเหตุและการป้องกัน ทั้งกฎหมายเกี่ยวกับอัคคีภัย ระบบและอุปกรณ์ที่ใช้ระงับเหตุอัคคีภัย พร้อมคลิ๊ปและภาพเหตูการต่างๆ
1 ส.ค. 2554
Standpipe and Hose System(3)
ระบบท่อยืนภายในอาคารที่นิยมใช้กันในประเทศไทยมีอยู่ 2 ระบบหลัก ได่แก่
1. ระบบท่อเปียกแบบทำงานอัตโนมัติระบบท่อเปียกแบบทำงานอัตโนมัติ(Automatic-Wet) เป็นระบบท่อยืนซึ่งต่อเข้ากับระบบท่อจ่ายน้ำดับเพลิงที่มีเครื่องสูบน้ำดับเพลิงต่อเข้ากับระบบเป็นแบบยึดติดถาวร ในกรณีที่มีการใช้งาน ระบบแบบนี้สามารถจ่ายน้ำดับเพลิงได้อย่างทันทีโดยอัตโนมัติ (ตามปกติแล้วภายในระบบท่อยืนแบบนี้จะมีน้ำดับเพลิงซึ่งมีแรงดันสำรองอยู่ภายในท่อตลอดเวลา)
2. ระบบท่อเปียกแบบทำงานด้วยมือระบบท่อเปียกแบบทำงานด้วยมือ(Manual-Wet) เป็นระบบท่อยืนที่ต่อกับแหล่งจ่ายน้ำประปาในอาคาร เช่น ระบบน้ำใช้โดยมีความมุ่งหมายให้มีน้ำอยู่เต็มในระบบท่อยืนเท่านั้นซึ่งแหล่งจ่ายน้ำนี้ไม่สามารถให้แรงดันและปริมาณการไหลของน้ำเพียงพออย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการของระบบ ระบบท่อยืนนี้จะรับน้ำดับเพลิงจากแหล่งจ่ายน้ำดับเพลิงภายนอก เช่นเครื่องสูบน้ำของรถดับเพลิง เป็นต้น ห้ามไม่ให้ใช้ระบบท่อเปียกแบบทำงานด้วยมือกับอาคารสูงที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตร และระบบท่อยืนประเภทประเภท 2 และประเภท 3
ระบบส่งน้ำสำหรับท่อยืน จะต้องจัดให้มีความสามารถพอเพียงสำหรับการส่งจ่ายน้ำให้กับอุปกรณ์ฉีดน้ำดับเพลิงที่ใช้งานเป็นระยะเวลาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 30 นาที
ปริมาณการส่งจ่ายน้ำสำหรับท่อยืนประเภทที่ 1 และ 3
1. ต้องมีอัตราการไหลไม่น้อยกว่า 1,893ต้องมีอัตราการไหลไม่น้อยกว่า 1,893ลิตรต่อวินาที (500 แกลลอนต่อนาที) เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที(500 แกลลอนต่อนาที)
2. กรณีที่ระบบท่อยืนมีมากกว่าหนึ่งท่อปริมาณการส่งจ่ายน้ำจะต้องไม่น้อยกว่า 1,893 ลิตรต่อวินาที (500 แกลลอนต่อนาที) สำหรับท่อยืนท่อแรก และ 946 ลิตรต่อนาที (250 แกลลอนต่อนาที) สำหรับท่อยืนแต่ละท่อที่เพิ่มขึ้น กรณีปริมาณการส่งน้ำรวมของท่อยืนเกิน 4,731 ลิตรต่อนาที (1,250 แกลลอนต่อนาที) ให้ใช้ปริมาณการส่งน้ำที่ 4,731 ลิตรต่อนาที หรือมากกว่าได้
3. ระบบส่งน้ำจะต้องมีความดันพอเพียงเพื่อให้มีความดันที่จุดไกลสุดและสูงสุดของท่อยืน 448 กิโลปาสกาล (65 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)ด้วยปริมาณการส่งน้ำ 1,893 ลิตรต่อนาที (500แกลลอนต่อนาที) ที่จุดไกลสุดท้ายและสูงสุดของท่อยืน
4. ในกรณีที่ขนาดของระบบท่อยืนได้มาจากการคำนวณตามหลักการกลศาสตร์ของไหลความดันที่จุดหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงที่อยู่ไกลสุดต้องมีความดัน 448 กิโลปาสกาล (65ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ด้วยอัตราการไหล 1,893 ลิตรต่อนาที (500 แกลลอนต่อนาที) ออกจากหัวฉีด
ปริมาณการส่งจ่ายน้ำสำหรับท่อยืนประเภทที่ 22
1. จะต้องมีอัตราการไหลไม่น้อยกว่า 379จะต้องมีอัตราการไหลไม่น้อยกว่า 379ลิตรต่อนาที (100 แกลลอนต่อนาที) สำหรับวาล์วและสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 40 มิลลิเมตร(1 ½ นิ้ว)
2. สำหรับวาล์วและสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 25 มิลลิเมตร (1 นิ้ว) จะต้องมีอัตราการไหลไม่น้อยกว่า 50 ลิตรต่อนาที
3. ความดันที่จุดหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงที่อยู่ไกลที่สุดจะต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 448 กิโลปาสกาล (65 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น