บล็อกที่รวบรวมเรื่องราวความรู้ของอัคคีภัย สาเหตุและการป้องกัน ทั้งกฎหมายเกี่ยวกับอัคคีภัย ระบบและอุปกรณ์ที่ใช้ระงับเหตุอัคคีภัย พร้อมคลิ๊ปและภาพเหตูการต่างๆ
6 ก.ย. 2554
การป้องกันอัคคีภัยสำหรับอาคารต่างๆ
ในยุโรป ในสหรัฐอเมริกา ในสิงค์โปร์ มาเลเซียและฮ่องกง คนที่ประกอบวิชาชีพ ทางด้าน สถาปัตยกรรม จะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนด ทางด้านการ ป้องกันอัคคีภัย อันเป็น ข้อกำหนดส่วนที่สำคัญที่สุดในการออกแบบอาคาร ข้อกำหนดบทแรกๆในArchitectural Building Codes ก็คือ Fire Safety Codes and Regulation ในประเทศไทย ยังไม่มี หลักสูตรทางด้านการป้องกันอัคคีภัยในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ ) ก็ได้เคยมีนโยบาย สวัสดิศึกษา เพื่อให้มีกา รสอนเรื่อง ความปลอดภัย ในสถานศึกษา และ หวังว่าในอนาคต ทบวงมหาวิทยาลัย และ กระทรวงศึกษาฯ ก็คงจะเห็น ความสำคัญ และ กำหนดให้มีหลักสูตรนี้เพิ่มใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ รวมทั้ง การศึกษา ในระดับโรงเรียน ต่อไป ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่เริ่มให้มีหลักสูตรทางด้านนี้
ทำไมสถาปนิกจึงต้องรู้เรื่องการป้องกันอัคคีภัย
เพราะการออกแบบอาคาร เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้อาคารปลอดภัย หากเริ่มออกแบบด้วยหลักการที่ถูกต้อง อาคาร ก็จะปลอดภัยด้วยตัวของมันเอง แต่หากเริ่มต้นไม่ดี ก็จะทำให้อาคารนั้นเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย และเกิดการสูญเสียมากกว่าที่ควรความสูญเสีย จากเหตุการณ์ที่ โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ ซึ่งเป็นเหตุให้คนงานเสียชีวิตถึง 200 คน เป็นบทเรียนราคาแพง เป็นตัวอย่าง ของการออกแบบ โดยขาดความรู้เรื่องการทนไฟของโครงสร้างอาคาร และการจัดทางหนีไฟ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้มี ข้อกำหนดเรื่อง อัตราการทนไฟ ในกฎกระทรวงฉบับที่ 48 (2540) และทำให้กระทรวงแรงงานฯกำหนดให้วันที่ 8-10 พ.ค.ทุกปี เป็นวันความปลอดภัย เพื่อ ระลึกถึง เหตุการณ์ครั้งนี้ความสูญเสีย จาก เหตุการณ์ที่ โรงแรมรอยัลจอมเทียน พัทยา เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2540 ซึ่งเป็นเหตุให้พนักงาน กฟผ. บ.เสริมสุข และแขกของโรงแรมเสียชีวิต 90 คน บาดเจ็บ 51 คน ก็เป็นบทเรียนหนึ่งที่มีราคาแพง และเป็นอีกตัวอย่างของการออกแบบโดยขาดความรู้เรื่องทางหนีไฟ การปิดล้อมบันได และช่องท่อ ผนังและประตูทนไฟ รวมทั้งระบบป้องกันอัคคีภัย เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดการพิจารณาปรับปรุงกฎกระทรวง และข้อกำหนดใหม่ๆอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะกฎกระทรวงฉบับที่ 47 (2540) ที่เน้นเรื่องการให้มีบันไดหนีไฟและการปิดล้อมบันไดโดยมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ใช้บังคับกับอาคารเก่า นอกจากนี้ ยังจะทำให้มีข้อกำหนดที่ให้มีการประกันภัยให้กับผู้ใช้อาคาร และข้อบังคับให้มีการตรวจสอบอาคารและการต่ออายุการใช้อาคาร ซึ่งนับเป็นข้อกำหนดที่จะทำให้อาคารจะต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงขึ้นการแก้ปัญหาด้วยการออกกฎหมาย ไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหา ตราบใดที่สถาปนิกยังแนะนำให้เจ้าของอาคารเลี่ยงกฎหมายอยู่ เช่น การสร้างอาคาร 1950 ตรม. สร้างอาคาร 9900 ตรม. หรือสูง 22.50 ม. เพียงเพื่อต้องการเลี่ยงข้อกำหนดในกฎหมาย โดยไม่ได้พิจารณาว่าอาคารหลังนั้น เป็นอาคารที่มีความเสี่ยงหรือไม่ หรือ หุ้มคานด้วยวัสดุทนไฟเฉพาะคานที่อยู่หัวเสา แต่ไม่หุ้มกันไฟที่คานรอง ทั้งๆที่ก็เป็นคานที่รับน้ำหนักเหมือนกัน หรืออ้างว่าการที่มีฝ้าเพดานยิปซั่มใต้โครงหลังคาก็ถือว่า
เป็นการหุ้มกันไฟโครงหลังคาที่เพียงพอแล้วผู้ออกแบบอาคารคือผู้รับใช้สังคมและจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมสถาปนิกไม่ควรโยนความรับผิดชอบเรื่องการป้องกันอัคคีภัยไปที่ผู้อื่น ไม่สมควรอ้างว่าที่ออกแบบไปอย่างนั้น เพราะเป็นความต้องการของเจ้าของ ไม่ควรอ้างว่า ใส่บันไดหนีไฟไม่ได้เพราะเนื้อที่จำกัด ไม่ควรโยนเรื่องการวางผังทางหนีไฟไปที่วิศวกร ไม่ควรมองว่าข้อกำหนดทางด้านการป้องกันอัคคีภัยสร้างความยุ่งยากและสร้างข้อจำกัดในการออกแบบ อย่าลืมว่า คนที่ท่านรักก็
อาจจะเป็นผู้ใช้อาคารที่ท่านออกแบบไว้ด้วยเช่นกันสถาปนิก จะต้องศึกษามาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหากเห็นว่ามาตรฐานและกฎหมายควรจะมีการปรับปรุง ก็ควรจะเสนอข้อความใหม่พร้อมเหตุผลผ่านสมาคมสถาปนิกสยามหรือสมาคมวิศวกรรมสถานฯ ซึ่งก็เป็นวิธีการเดียวกันกับการพัฒนา
มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยในสหรัฐอเมริกา
ในอนาคต ยังหวังกันว่า กฎหมายจะมีลักษณะเอื้อกับการออกแบบในลักษณะ Performance Base Design ซึ่งทำให้การออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยอาศัยเหตุผลและหลักการทางด้านวิทยาศาสตร์ และต่างจากปัจจุบันที่มีลักษณะการออกแบบตามข้อบังคับ แต่ถึงตอนนั้น ผู้ออกแบบ จะต้องพิสูจน์ ความเป็นมืออาชีพและมีดวงดาวยาบรรณกว่าในปัจจุบันนี้ ออสเตรเลียเป็นประเทศแรกที่ใช้หลัก Performance Base Design แต่ก็พบปัญหาที่ผู้ออกแบบ อาศัยหลักนี้ใน การหลีกเลี่ยง การติดตั้ง
ระบบป้องกันอัคคีภัย จึงต้องมีกรรมการพิจารณาก่อนการอนุมัติ บริษัทที่ปรึกษาฝรั่งที่มาทำโครงการในประเทศไทย ก็เคยอ้างหลักการนี้ ซึ่งเราก็ต้อง ระวังไม่ให้ถูก ฝรั่งหลอก เอาเหมือนกัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น