5. อุปกรณ์ตรวจจับควัน
5.1 ชนิดของอุปกรณ์ตรวจจับควัน แบ่งตามการตรวจจับควันออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดไอโอไนเซชั่น (Ionization type) และชนิดโฟโตอิเล็กตริก (Photoelectric type)
5.1.1 ชนิดไอโอไนเซชั่น เป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันประกอบด้วยกล่องที่ภายในมีแผ่นโลหะที่มีขั่วไฟฟ้าต่างกันและมีสารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive) ซึ่งจะทำหน้าที่กระตุ้นให้อากาศภายในกล่อง (Chamber) เกิดการแตกตัว ไอออนของอากาศในกล่อง จะทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ระหว่างสองขั้ว เมื่อมีควันเข้าไปในกล่อง ค่าความนำไฟฟ้าของอากาศจะลดลง กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านจะลดลงด้วย เมื่อกระแสลดลงถึงค่าที่ตั้งไว้ แผงควบคุมจะสามารถตรวจค่านี้ได้และทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้ต่อไป
5.1.2 ชนิดโฟโตอิเล็กตริก สามารถตรวจจับควันที่หนาทึบได้ดี มีหลักการทำงานสองแบบ คือ แบบควันบังแสง และแบบควันหักเหแสง
(1) แบบควันบังแสง (Light Obscuration) ลักษณะการทำงานจะมีแหล่งกำเนิดแสงและตัวรับแสง ปกติปริมาณแสงที่ตัวรับแสงได้จะมีค่าแน่นอนอยู่ค่าหนึ่ง เมื่อมีควันเข้าไปในกล่อง แสงที่ส่องไปกระทบตัวรับแสงจะถูกบังด้วยอนุภาคของควัน เมื่อต่ำถึงค่าที่ตั้งไว้อุปกรณ์ตรวจจับจะตรวจได้และทำงาน โดยปกติสีของควันจะไม่มีผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ อุปกรณ์ตรวจจับแบบนี้ที่ใช้ทั่วไปจะเป็นแบบลำแสง (Beam Smoke Detector) ทำงานโดยที่แหล่งกำเนิดแสงจะส่องแสงผ่านพื้นที่ที่ต้องการป้องกันตรงไปที่ติดตั้งห่างออกไป ส่วนประกอบจะมีตัวฉายแสงและตัวรับแสงแยกเป็นคนละตัวกัน
(2) แบบควันหักเหแสง (Light Scattering)
6. อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้
เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้และอุปกรณ์ตรวจจับสามารถตรวจจับได้แล้ว อุปกรณ์แจ้งเหตุจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณเตือนภัยให้ผู้อาศัยในอาคารทราบเหตุ แต่สิ่งสำคัญคือ การแจ้งเหตุต้องให้ผู้อาศัยในอาคารทราบอย่างทั่วถึง สามารถแจ้งเหตุได้รวดเร็วเพื่อให้ผู้อาศัยมีเวลาในการดับเพลิง หรือมีเวลาพอสำหรับการอพยพหนีไฟ
อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียงและอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสง อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียง เช่น กระดิ่ง หวูด ไซเรน และลำโพง และชนิดที่แจ้งเหตุด้วยแสง เช่น สโตรบ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสงนี้จะใช้กับสถานที่ที่มีเสียงดังมากไม่สามารถแจ้งเหตุด้วยเสียงได้ หรือในสถานที่ที่มีบุคคลที่มีปัญหาการได้ยินอาศัยอยู่ หรือในสถานพยาบาล ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุจำนวนมากมักมีปัญหาการได้ยิน การแจ้งเหตุด้วยแสงจึงมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก
6.1 การแจ้งเหตุด้วยเสียง คือการส่งสัญญาณเสียงเตือนขณะเกิดเหตุเพื่อให้ผู้อาศัยทราบและสามารถอพยพได้ทัน
การตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษา
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องมีการตรวจสอบและทดสอบทั้งเมื่อทำการติดตั้งแล้วเสร็จและตามระยะเวลาที่เหมาะสม จุดประสงค์เพื่อให้ระบบใช้งานได้ดีตามต้องการ มีความเชื่อถือได้สูง และอยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์เมื่อเกิดเหตุ การดำเนินการควรเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของอาคาร ผู้ดูแล
6.2 การแจ้งเหตุด้วยแสง การแจ้งเหตุด้วยแสง คือ การส่งสัญญาณเตือนด้วยแสงกระพริบที่มีความสว่างเพียงพอที่จะกระตุ้นเตือนให้ผู้อาศัยในอาคารทราบการเกิดเหตุ และในกรณีที่มีคนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงต้องใช้แสงแทน
7.อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรวจจับความร้อนของวัตถุที่ถูกไฟไหม้ ความร้อนจากการเผาไหม้ของวัตถุ เกิดจากการเพิ่มขึ้นของพลังงานและเป็นสาเหตุให้วัตถุมีอุณหภูมิสูงขึ้น อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนสามารถตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้ที่ให้ความร้อนสูงอย่างรวดเร็วและมีควันน้อยได้เร็วกว่าอุปกรณ์ตรวจจับควัน หรือใช้เพื่อป้องกันเพิ่มเติมจากอุปกรณ์ตรวจจับควันก็ได้ แต่จะใช้แทนอุปกรณ์ตรวจจับควันไม่ได้
7.1 หลักการทำงาน
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนทำงานจากความร้อนที่ตรวจจับได้ แบ่งลักษณะการตรวจจับออกเป็น 2 แบบ คือ แบบอุณหภูมิคงที่ (Fixed Temperature ) และแบบอัตราเพิ่ของอุณหภูมิ และแบบอัตราเพิ่ของอุณหภูมิ ( Rated-of-Rise ) อุปกรณ์ตรวจจับบางตัวจะทำงานได้ทั้งสองหน้าที่
7.1.1 แบบอุณหภูมิคงที่ ( Fixed Temperature ) เป็นอุปกรณ์ที่ตรวจจับแบบที่ง่ายที่สุด จะทำงานเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึงจุดที่ตั้งไว้ ที่ใช้งานทั่วไปจะเริ่มตั้งแต่ 58 องศาเซลเซียส ( 135 องศาฟาเรนไฮท์ ) ขึ้นไป อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละมาตรฐานการผลิต
7.1.2 แบบอัตราเพิ่มของอุณหภูมิ ( Rated-of-Rise ) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบอัตราเพิ่มของอุณหภูมิทำงานเมื่อการเพิ่มของอุณหภูมิสูงเกินอัตราพิกัดที่กำหนดเช่น 8.5 องศาเซลเซียสต่อนาที ( 15 องศาฟาเรนไฮท์ต่อนาที )
7.1.3 อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบผสม ( Combination ) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบผสม เป็นการผสมการทำงานระหว่างแบบอุณหภูมิคงที่และแบบอัตราเพิ่มของอุณหภูมิ เมื่อค่าใดค่าหนึ่งเป็นไปตามที่กำหนด อุปกรณ์จะทำงาน อุปกรณ์ตรวจจับแบบนี้จึงสามารถตรวจจับความร้อนได้ดีกว่าแบบอุณหภูมิคงที่
บล็อกที่รวบรวมเรื่องราวความรู้ของอัคคีภัย สาเหตุและการป้องกัน ทั้งกฎหมายเกี่ยวกับอัคคีภัย ระบบและอุปกรณ์ที่ใช้ระงับเหตุอัคคีภัย พร้อมคลิ๊ปและภาพเหตูการต่างๆ
31 ส.ค. 2554
28 ส.ค. 2554
ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือ ระบบที่สามารถตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้และแจ้งผลให้ผู้อยู่ในอาคารทราบโดยอัตโนมัติและแจ้งเหตุได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและมีความเชื่อถือได้สูง เพื่อให้ผู้อาศัยในอาคารหนีไฟไปยังที่ปลอดภัยสูงขึ้น เป็นผลให้ลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้มากระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้มีทั้งระบบที่ทำงานเป็นอิสระและระบบที่ทำงานร่วมกับระบบรักษาความปลอดภัยอื่นๆการออกแบบและติดตั้งระบบสัญญาณแงเหตุเพลิงไหม้จึงต้องมีข้อมูลพร้อมทั้งข้อมูลของตัวระบบเอง และลักษณะอาคารหรือพื้นที่ๆใช้งาน
1. ความรู้ทั่วไป
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือ ระบบที่สามารถตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้และแจ้งผลให้ผู้อยู่ในอาคารทราบโดยอัตโนมัติและแจ้งเหตุได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและมีความเชื่อถือได้สูง เพื่อให้ผู้อาศัยในอาคารหนีไฟไปยังที่ปลอดภัยสูงขึ้น เป็นผลให้ลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้มาก ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้มีทั้งระบบที่ทำงานเป็นอิสระและระบบที่ทำงานร่วมกับระบบรักษาความปลอดภัยอื่นๆ การออกแบบและติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้จึงต้องมีข้อมูลพร้อมทั้งข้อมูลของตัวระบบเอง และลักษณะอาคารหรือพื้นที่ที่ใช้งาน
2. พัฒนาการของเพลิงไหม้
การเกิดเพลิงไหม้เริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อนและขยายใหญ่ขึ้น มีความร้อนสูงขึ้น และลุกลามออกไปเรื่อยๆ การศึกษาการเกิดเพลิงไหม้จะทำให้ทราบลักษณะของการเกิดเพลิงไหม้ การเกิดเพลิงไหม้สามารถแบ่งออกเป็นระยะต่างๆ 4 ระยะ คือ
2.1 ระยะเริ่มต้น (Incipient Stage) เป็นระยะเมื่อเริ่มเกิดเพลิงไหม้ จะเริ่มด้วยการสลายตัวของวัสดุเนื่องจากความร้อน ระยะนี้จะเกิดเป็นอนุภาคเล็กๆ จำนวนมาก อนุภาคอาจจะมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน (หนึ่งไมครอนมีขนาดเท่ากับเศษหนึ่งส่วนล้านเมตร) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อนุภาคเหล่านี้มีทั้งอนุภาคที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ระยะนี้จึงไม่สามารถทราบได้ว่าเกิดเพลิงไหม้
2.2 ระยะเกิดควัน (Visible Smoke) จากระยะเริ่มต้น หากการเกิดเผาไหม้ยังคงดำเนินต่อไป จะเกิดควันที่สามารถมองเห็นได้ อนุภาคที่เกิดจากความร้อนจะมีจำนวนมากขึ้นจนทำให้สามารถมองเห็นได้ ระยะนี้ยังไม่มีความร้อนมากพอที่จะทำให้การลุกไหม้ดำเนินต่อไปได้
2.3 ระยะเกิดเปลวเพลิง (Flaming Fire) เมื่อสะสมจนมีความร้อนมากพอ อนุภาคที่มีร้อนมากจะลุกติดไฟ
และเกิดเป็นเปลวเพลิงหรือเปลวไฟ เปลวไฟนี้จะมีพลังงานมากพอที่จะจุดติดอนุภาคอื่นๆ ให้ลุกติดไฟต่อไปได้ เรียกว่าเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ความร้อนจะสูงขึ้น และการเกิดเพลิงไหม้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ
2.4 ระยะความร้อนสูง (Intense Heat) เมื่อการเกิดเพลิงไหม้ขยายใหญ่ขึ้น ปริมาณความร้อนที่เกิดก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ระยะนี้เป็นระยะที่ก่อให้เกิดความเสียหายสูง การดับเพลิงทำได้ยาก
3. การทำงานของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ร่วมกับระบบป้องกันอัคคีภัยอื่นๆ
โดยปกติระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัยสามารถจัดให้ทำงานร่วมกันได้ แต่ในการเลือกใช้ ควรพิจารณาจากความเหมาะสมในการติดตั้ง แก้ไขและบำรุงรักษา ความแม่นยำ ประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการตรวจสอบเมื่อการทำงานบกพร่อง ที่สำคัญต้องไม่กระทบต่อหน้าที่หรือการทำงานตามปกติของอุปกรณ์อื่น
3.1 ทำงานร่วมกับระบบดับเพลิงด้วยสารดับเพลิงพิเศษ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปแจ้งให้ระบบดับเพลิงปล่อยก๊าซ โฟม หรือสารเคมีประเภทอื่นๆ เพื่อดับเพลิง
3.2 ทำงานร่วมกับระบบลิฟท์ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปแจ้งให้ลิฟท์ทุกชุดในอาคารลงจอดที่ระดับชั้นล่าง ระดับพื้นดินหรือชั้นที่กำหนด เพื่อให้คนออกจากลิฟท์
3.3 ทำงานร่วมกับระบบพัดลมอัดอากาศ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปแจ้งให้ระบบพัดลมอัดอากาศทำงาน อัดอากาศลงมาในช่องบันไดหนีไฟเพื่อไม่ให้ควันเข้าไปในบันไดหนีไฟ
3.4 ทำงานร่วมกับระบบดับเพลิงของอาคาร เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปให้ระบบ Fire Pump, Jockey Pump ทำงาน
3.5 ทำงานร่วมกับระบบควบคุมควันไฟ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปให้ระบบควบคุมควันไฟ เครื่องส่งลมเย็น ลิ้นกันไฟ และลิ้นกันควันทุกชุดทำงานตามที่กำหนด เพื่อไม่ให้ควันกระจายไปในบริเวณอื่น
3.6 ทำงานร่วมกับระบบปิดประตู แผงกั้นไฟ และระบบปลดล็อกประตูอัตโนมัติ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปให้ระบบปิดประตู แผงกั้นไฟ และระบบปลดล็อกประตูอัตโนมัติทำงาน เพื่อให้คนอพยพออกมาได้อย่างปลอดภัย
4. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ
เป็นอุปกรณ์เริ่มสัญญาณที่ทำงานโดยอาศัยการกระตุ้นจากบุคคล โดยการดึง หรือทุบกระจกให้แตก มีลักษณะเป็นสวิตช์ไฟฟ้า ลักษณะการทำงานนี้เป็นแบบจังหวะเดียว (Single Action) หรือผู้ที่ต้องการแจ้งเหตุเพลิงไหม้จะต้องทุบกระจกให้แตกแล้วค่อยดึง ลักษณะการทำงานนี้เป็นแบบสองจังหวะ (Double Action) การปรับตั้งใหม่ (Reset) จะทำได้โดยต้องใช้เครื่องมือประกอบ เช่น ใช้กุญแจ ไขควง หรือประแจ เป็นต้น
Key Switch เป็นอุปกรณ์แจ้งเหตุ Alarm ลักษณะคล้ายกุญแจ ทำงานจังหวะเยวโดยการบิดไปทางซ้ายหรือขวา การ Reset ทำโดยการบิดกลับตำแหน่งเดิม
1. ความรู้ทั่วไป
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือ ระบบที่สามารถตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้และแจ้งผลให้ผู้อยู่ในอาคารทราบโดยอัตโนมัติและแจ้งเหตุได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและมีความเชื่อถือได้สูง เพื่อให้ผู้อาศัยในอาคารหนีไฟไปยังที่ปลอดภัยสูงขึ้น เป็นผลให้ลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้มาก ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้มีทั้งระบบที่ทำงานเป็นอิสระและระบบที่ทำงานร่วมกับระบบรักษาความปลอดภัยอื่นๆ การออกแบบและติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้จึงต้องมีข้อมูลพร้อมทั้งข้อมูลของตัวระบบเอง และลักษณะอาคารหรือพื้นที่ที่ใช้งาน
2. พัฒนาการของเพลิงไหม้
การเกิดเพลิงไหม้เริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อนและขยายใหญ่ขึ้น มีความร้อนสูงขึ้น และลุกลามออกไปเรื่อยๆ การศึกษาการเกิดเพลิงไหม้จะทำให้ทราบลักษณะของการเกิดเพลิงไหม้ การเกิดเพลิงไหม้สามารถแบ่งออกเป็นระยะต่างๆ 4 ระยะ คือ
2.1 ระยะเริ่มต้น (Incipient Stage) เป็นระยะเมื่อเริ่มเกิดเพลิงไหม้ จะเริ่มด้วยการสลายตัวของวัสดุเนื่องจากความร้อน ระยะนี้จะเกิดเป็นอนุภาคเล็กๆ จำนวนมาก อนุภาคอาจจะมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน (หนึ่งไมครอนมีขนาดเท่ากับเศษหนึ่งส่วนล้านเมตร) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อนุภาคเหล่านี้มีทั้งอนุภาคที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ระยะนี้จึงไม่สามารถทราบได้ว่าเกิดเพลิงไหม้
2.2 ระยะเกิดควัน (Visible Smoke) จากระยะเริ่มต้น หากการเกิดเผาไหม้ยังคงดำเนินต่อไป จะเกิดควันที่สามารถมองเห็นได้ อนุภาคที่เกิดจากความร้อนจะมีจำนวนมากขึ้นจนทำให้สามารถมองเห็นได้ ระยะนี้ยังไม่มีความร้อนมากพอที่จะทำให้การลุกไหม้ดำเนินต่อไปได้
2.3 ระยะเกิดเปลวเพลิง (Flaming Fire) เมื่อสะสมจนมีความร้อนมากพอ อนุภาคที่มีร้อนมากจะลุกติดไฟ
และเกิดเป็นเปลวเพลิงหรือเปลวไฟ เปลวไฟนี้จะมีพลังงานมากพอที่จะจุดติดอนุภาคอื่นๆ ให้ลุกติดไฟต่อไปได้ เรียกว่าเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ความร้อนจะสูงขึ้น และการเกิดเพลิงไหม้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ
2.4 ระยะความร้อนสูง (Intense Heat) เมื่อการเกิดเพลิงไหม้ขยายใหญ่ขึ้น ปริมาณความร้อนที่เกิดก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ระยะนี้เป็นระยะที่ก่อให้เกิดความเสียหายสูง การดับเพลิงทำได้ยาก
3. การทำงานของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ร่วมกับระบบป้องกันอัคคีภัยอื่นๆ
โดยปกติระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัยสามารถจัดให้ทำงานร่วมกันได้ แต่ในการเลือกใช้ ควรพิจารณาจากความเหมาะสมในการติดตั้ง แก้ไขและบำรุงรักษา ความแม่นยำ ประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการตรวจสอบเมื่อการทำงานบกพร่อง ที่สำคัญต้องไม่กระทบต่อหน้าที่หรือการทำงานตามปกติของอุปกรณ์อื่น
3.1 ทำงานร่วมกับระบบดับเพลิงด้วยสารดับเพลิงพิเศษ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปแจ้งให้ระบบดับเพลิงปล่อยก๊าซ โฟม หรือสารเคมีประเภทอื่นๆ เพื่อดับเพลิง
3.2 ทำงานร่วมกับระบบลิฟท์ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปแจ้งให้ลิฟท์ทุกชุดในอาคารลงจอดที่ระดับชั้นล่าง ระดับพื้นดินหรือชั้นที่กำหนด เพื่อให้คนออกจากลิฟท์
3.3 ทำงานร่วมกับระบบพัดลมอัดอากาศ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปแจ้งให้ระบบพัดลมอัดอากาศทำงาน อัดอากาศลงมาในช่องบันไดหนีไฟเพื่อไม่ให้ควันเข้าไปในบันไดหนีไฟ
3.4 ทำงานร่วมกับระบบดับเพลิงของอาคาร เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปให้ระบบ Fire Pump, Jockey Pump ทำงาน
3.5 ทำงานร่วมกับระบบควบคุมควันไฟ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปให้ระบบควบคุมควันไฟ เครื่องส่งลมเย็น ลิ้นกันไฟ และลิ้นกันควันทุกชุดทำงานตามที่กำหนด เพื่อไม่ให้ควันกระจายไปในบริเวณอื่น
3.6 ทำงานร่วมกับระบบปิดประตู แผงกั้นไฟ และระบบปลดล็อกประตูอัตโนมัติ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปให้ระบบปิดประตู แผงกั้นไฟ และระบบปลดล็อกประตูอัตโนมัติทำงาน เพื่อให้คนอพยพออกมาได้อย่างปลอดภัย
4. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ
เป็นอุปกรณ์เริ่มสัญญาณที่ทำงานโดยอาศัยการกระตุ้นจากบุคคล โดยการดึง หรือทุบกระจกให้แตก มีลักษณะเป็นสวิตช์ไฟฟ้า ลักษณะการทำงานนี้เป็นแบบจังหวะเดียว (Single Action) หรือผู้ที่ต้องการแจ้งเหตุเพลิงไหม้จะต้องทุบกระจกให้แตกแล้วค่อยดึง ลักษณะการทำงานนี้เป็นแบบสองจังหวะ (Double Action) การปรับตั้งใหม่ (Reset) จะทำได้โดยต้องใช้เครื่องมือประกอบ เช่น ใช้กุญแจ ไขควง หรือประแจ เป็นต้น
Key Switch เป็นอุปกรณ์แจ้งเหตุ Alarm ลักษณะคล้ายกุญแจ ทำงานจังหวะเยวโดยการบิดไปทางซ้ายหรือขวา การ Reset ทำโดยการบิดกลับตำแหน่งเดิม
12 ส.ค. 2554
การจำแนกประเภทของพื้นที่ครองครอง
การออกแบบและเลือกใช้ชนิดของหัวกระจายน้ำดับเพลิงให้เหมาะสมกับระดับอันตรายในพื้นที่ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงที่ปรากฏในพื้นที่ในพื้นที่ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงที่ปรากฏในพื้นที่นั้นๆ ว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด ตามมาตรฐานจำแนกประเภทของพื้นที่ครองครองออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ก) พื้นที่ครอบครองอันตรายน้อย (Light Hazard Occupancies)
ข) พื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง (Ordinary Hazard Occupancies)
ค) พื้นที่ครอบครองอันตรายมาก (Extra Hazard Occupancies)
ก) พื้นที่ครอบครองอันตรายน้อย (Light Hazard Occupancies)
ข) พื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง (Ordinary Hazard Occupancies)
ค) พื้นที่ครอบครองอันตรายมาก (Extra Hazard Occupancies)
9 ส.ค. 2554
การเลือกใช้หัวกระจายน้ำดับเพลิง
หัวกระจายน้ำดับเพลิงที่ผ่านการรับรองจะต้องเลือกใช้และติดตั้งให้สอดคล้องกับข้อกำหนดที่ระบุไว้นั้น
ก) หัวกระจายน้ำดับเพลิงชนิดหัวหงาย (Upright ) ต้องติดตั้งให้โครงแขน (Frame Arm) ขนานกับท่อย่อยนั้น
ข) หัวกระจายน้ำดับเพลิงชนิดหัวหงาย (Upright) หรือหัวคว่ำ (Pendent) ให้ติดตั้งในพื้นที่ครอบครองทุกประเภทได้
ค) หัวกระจายน้ำดับเพลิงชนิดติดกำแพง (Sidewall) ให้ติดตั้งเฉพาะพื้นที่ครอบครองอันตรายน้อย (Light Hazard) และมีเพดานเรียบ
3 ส.ค. 2554
Fire Hydrant System
ระบบท่อน้ำดับเพลิงรอบนอกอาคาร(Fire Hydrant System)
ลักษณะทั่วไป
1. ขนาดของท่อต่อทางน้ำเข้าของหัวดับเพลิงกับระบบท่อน้ำ จะต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า150 มิลลิเมตรโดยมีวาล์วควบคุมที่จุดต่อหัวจ่ายน้ำดับเพลิงกับท่อน้ำดับเพลิง
2. ชนิดของหัวจ่ายน้ำดับเพลิงจะต้องเป็นแบบเปียกเท่านั้น (Wet-Barrel)
3. จำนวนหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง (Hose Outlet) ให้มีไม่น้อยกว่า 1 หัว
4. หัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงจะต้องเป็นหัวต่อสวมเร็วชนิดตัวเมียพร้อมฝาครอบและโซ่
5. ให้มีวาล์วปิด-เปิดขนาด 65 มิลลิเมตร(2 ½ นิ้ว) ติดตั้งที่หัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง
ตำแหน่งหัวจ่ายน้ำดับเพลิงรอบนอกอาคาร
1. ที่ติดตั้งหัวจ่ายน้ำดับเพลิงต้องห่างจากอาคารที่ป้องกันไม่น้อยกว่า 12 เมตร (50 ฟุต)
2. กรณีไม่สามารถติดตั้งห่างจากอาคารเกิน 12 เมตร กำหนดให้ติดตั้งใกล้อาคารได้ ถ้าผนังของอาคารเป็นผนังทนไฟหรือติดตั้งใกล้กับส่วนที่เป็นบันไดหรือมุมอาคารซึ่งผนังดังกล่าวในส่วนนี้ต้องไม่พังลงได้โดยง่ายเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้
3. ระยะห่างระหว่างหัวดับเพลิงแต่ละหัวจะต้องไม่เกิน 150 เมตร (500 ฟุต)
การติดตั้งหัวจ่ายดับเพลิง
หัวจ่ายน้ำดับเพลิงต้องติดตั้งอย่างมั่นคงแข็งแรงโดยรองรับข้างใต้ด้วยฐานคอนกรีต ความสูงของหัวจ่ายน้ำดับเพลิง จะต้องสูงไม่น้อยกว่า0.60 เมตร วัดจากแนวศูนย์กลางของหัวต่อสายฉีดน้ำถึงระดับดิน หัวจ่ายน้ำดับเพลิงจะต้องป้องกันการรุดเสียหายที่อาจเกิดจากการกระแทกโดยการจัดทำแนวกั้น หัวจ่ายน้ำดับเพลิงจะต้องถูกยึดติดกับท่อน้ำดับเพลิงด้วยระบบข้อต่อแบบหน้าแปลนเท่านั้น และให้ทำการป้องกันแรงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนทิศทางของน้ำดับเพลิงด้วย ให้ทดสอบการทำงานของหัวดับเพลิงทุกหัว อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ตู้เก็บสายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์
1. เตรียมสายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ให้มีจำนวนเพียงพอสำหรับบุคลากรหรือพนักงานดับเพลิงใช้งาน
2. จำนวนและชนิดของสายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ ให้พิจารณาจากจำนวนและตำแหน่งของหัวดับเพลิงที่มีใช้งานสัมพันธ์กับพื้นที่หรืออาคารที่ป้องกันการขยายตัวของเพลิงไหม้ และขีดความสามารถของผู้ใช้ในพื้นที่นั้น ๆ
3. จำนวนและชนิดของสายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ อาจจะต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานดับเพลิง
4. สายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ให้เก็บไว้ภายในบริเวณที่สามารถเข้าถึงและหยิบใช้ได้โดยง่าย อุปกรณ์ทั้งหมดจะต้องบรรจุภายในตู้ที่เห็นได้โดยง่าย
5. ข้อต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง ให้เป็นชนิดข้อต่อสวมเร็วทั้งสองปลาย
ตำแหน่งและการสร้างตู้
ให้ติดตั้งตู้เก็บสายฉีดน้ำดับเพลิงใกล้กับหัวจ่ายน้ำดับเพลิงมากที่สุดหรือติดตั้งไว้ข้างหัวจ่ายน้ำดับเพลิงโดยตรง ตู้เก็บสายฉีดน้ำดับเพลิงจะต้องถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน ภายในตู้เก็บสายฉีดน้ำดับเพลิงจะต้องมีช่องระบายอากาศ สีของตัวตู้จะต้องเป็นชนิดที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม
ขนาดของตู้และอุปกรณ์ภายใน
ขนาดของตัวตู้จะต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะบรรจุอุปกรณ์ต่างๆ ได้พอเพียง หรือจัดทำเป็นชั้นวางหรือที่ยึดอุปกรณ์ต่างๆ ได้ โดยอุปกรณ์ภายในตู้จะต้องมี
1. สายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 2 ½ นิ้วยาวไม่น้อยกว่า 30 เมตร อย่างน้อย 1 เส้น
2. หัวฉีดน้ำดับเพลิงที่สามารถปรับการฉีดเป็นลำตรงและเป็นฝอยได้ อย่างน้อย 1 หัว
3. หัวต่อลดขนาด 2 ½ นิ้ว x 1 ½ นิ้วอย่างน้อย 1 หัว
4. ขวานเหล็กและชะแลงเหล็ก อย่างละ 1 อัน
การตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบป้องกันอัคคีภัย
การตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบป้องกันอัคคีภัยที่ติดตั้งอยู่ภายในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีวามสำคัญอย่างมากเนื่องจากขั้นตอนการตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาจะทำให้ระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีอยู่มีความพร้อมในการใช้งานในกรณีที่มีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นซึ่งระบบป้องกันอัคคีภัยเหล่านั้นจะสามารถทำการดับเพลิงได้อย่างมีระสิทธิภาพ ดังนั้นผู้มีหน้าที่ทำการตรวจสอบจะต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีอยู่ทั้งหมดอย่างละเอียด ทั้งนี้ มีรายการอุปกรณ์สำคัญๆ ที่จะต้องตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษา ได้แก่
1. ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง
2. ระบบท่อยืน
3. ท่อจ่ายน้ำดับเพลิง
4. เครื่องสูบน้ำดับเพลิง
5. ถังเก็บน้ำดับเพลิง
ในการทดสอบ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา ต้องทำตามแบบฟอร์มที่กำหนดขึ้นมาตามลักษณะ ประเภท การติดตั้ง รวมถึงช่วงเวลาหรือความถี่สำหรับระบบป้องกันอัคคีภัยแต่ละแบบที่แตกต่างกันออกไปแบบฟอร์มสำหรับการทดสอบ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา เป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งมีมาตรฐานเพื่อใช้อ้างอิงภายหลังได้ แต่ควรจะพิจารณาเลือกใช้แบบฟอร์มที่ถูกต้องตรงตามกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในสถานประกอบการ ประการสำคัญ จะต้องมีการบันทึกผลอย่างครบถ้วนและจัดเก็บไว้อย่างดีเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่และทุกเวลาที่ต้องการ
ลักษณะทั่วไป
1. ขนาดของท่อต่อทางน้ำเข้าของหัวดับเพลิงกับระบบท่อน้ำ จะต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า150 มิลลิเมตรโดยมีวาล์วควบคุมที่จุดต่อหัวจ่ายน้ำดับเพลิงกับท่อน้ำดับเพลิง
2. ชนิดของหัวจ่ายน้ำดับเพลิงจะต้องเป็นแบบเปียกเท่านั้น (Wet-Barrel)
3. จำนวนหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง (Hose Outlet) ให้มีไม่น้อยกว่า 1 หัว
4. หัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงจะต้องเป็นหัวต่อสวมเร็วชนิดตัวเมียพร้อมฝาครอบและโซ่
5. ให้มีวาล์วปิด-เปิดขนาด 65 มิลลิเมตร(2 ½ นิ้ว) ติดตั้งที่หัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง
ตำแหน่งหัวจ่ายน้ำดับเพลิงรอบนอกอาคาร
1. ที่ติดตั้งหัวจ่ายน้ำดับเพลิงต้องห่างจากอาคารที่ป้องกันไม่น้อยกว่า 12 เมตร (50 ฟุต)
2. กรณีไม่สามารถติดตั้งห่างจากอาคารเกิน 12 เมตร กำหนดให้ติดตั้งใกล้อาคารได้ ถ้าผนังของอาคารเป็นผนังทนไฟหรือติดตั้งใกล้กับส่วนที่เป็นบันไดหรือมุมอาคารซึ่งผนังดังกล่าวในส่วนนี้ต้องไม่พังลงได้โดยง่ายเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้
3. ระยะห่างระหว่างหัวดับเพลิงแต่ละหัวจะต้องไม่เกิน 150 เมตร (500 ฟุต)
การติดตั้งหัวจ่ายดับเพลิง
หัวจ่ายน้ำดับเพลิงต้องติดตั้งอย่างมั่นคงแข็งแรงโดยรองรับข้างใต้ด้วยฐานคอนกรีต ความสูงของหัวจ่ายน้ำดับเพลิง จะต้องสูงไม่น้อยกว่า0.60 เมตร วัดจากแนวศูนย์กลางของหัวต่อสายฉีดน้ำถึงระดับดิน หัวจ่ายน้ำดับเพลิงจะต้องป้องกันการรุดเสียหายที่อาจเกิดจากการกระแทกโดยการจัดทำแนวกั้น หัวจ่ายน้ำดับเพลิงจะต้องถูกยึดติดกับท่อน้ำดับเพลิงด้วยระบบข้อต่อแบบหน้าแปลนเท่านั้น และให้ทำการป้องกันแรงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนทิศทางของน้ำดับเพลิงด้วย ให้ทดสอบการทำงานของหัวดับเพลิงทุกหัว อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ตู้เก็บสายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์
1. เตรียมสายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ให้มีจำนวนเพียงพอสำหรับบุคลากรหรือพนักงานดับเพลิงใช้งาน
2. จำนวนและชนิดของสายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ ให้พิจารณาจากจำนวนและตำแหน่งของหัวดับเพลิงที่มีใช้งานสัมพันธ์กับพื้นที่หรืออาคารที่ป้องกันการขยายตัวของเพลิงไหม้ และขีดความสามารถของผู้ใช้ในพื้นที่นั้น ๆ
3. จำนวนและชนิดของสายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ อาจจะต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานดับเพลิง
4. สายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ให้เก็บไว้ภายในบริเวณที่สามารถเข้าถึงและหยิบใช้ได้โดยง่าย อุปกรณ์ทั้งหมดจะต้องบรรจุภายในตู้ที่เห็นได้โดยง่าย
5. ข้อต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง ให้เป็นชนิดข้อต่อสวมเร็วทั้งสองปลาย
ตำแหน่งและการสร้างตู้
ให้ติดตั้งตู้เก็บสายฉีดน้ำดับเพลิงใกล้กับหัวจ่ายน้ำดับเพลิงมากที่สุดหรือติดตั้งไว้ข้างหัวจ่ายน้ำดับเพลิงโดยตรง ตู้เก็บสายฉีดน้ำดับเพลิงจะต้องถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน ภายในตู้เก็บสายฉีดน้ำดับเพลิงจะต้องมีช่องระบายอากาศ สีของตัวตู้จะต้องเป็นชนิดที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม
ขนาดของตู้และอุปกรณ์ภายใน
ขนาดของตัวตู้จะต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะบรรจุอุปกรณ์ต่างๆ ได้พอเพียง หรือจัดทำเป็นชั้นวางหรือที่ยึดอุปกรณ์ต่างๆ ได้ โดยอุปกรณ์ภายในตู้จะต้องมี
1. สายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 2 ½ นิ้วยาวไม่น้อยกว่า 30 เมตร อย่างน้อย 1 เส้น
2. หัวฉีดน้ำดับเพลิงที่สามารถปรับการฉีดเป็นลำตรงและเป็นฝอยได้ อย่างน้อย 1 หัว
3. หัวต่อลดขนาด 2 ½ นิ้ว x 1 ½ นิ้วอย่างน้อย 1 หัว
4. ขวานเหล็กและชะแลงเหล็ก อย่างละ 1 อัน
การตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบป้องกันอัคคีภัย
การตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบป้องกันอัคคีภัยที่ติดตั้งอยู่ภายในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีวามสำคัญอย่างมากเนื่องจากขั้นตอนการตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาจะทำให้ระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีอยู่มีความพร้อมในการใช้งานในกรณีที่มีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นซึ่งระบบป้องกันอัคคีภัยเหล่านั้นจะสามารถทำการดับเพลิงได้อย่างมีระสิทธิภาพ ดังนั้นผู้มีหน้าที่ทำการตรวจสอบจะต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีอยู่ทั้งหมดอย่างละเอียด ทั้งนี้ มีรายการอุปกรณ์สำคัญๆ ที่จะต้องตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษา ได้แก่
1. ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง
2. ระบบท่อยืน
3. ท่อจ่ายน้ำดับเพลิง
4. เครื่องสูบน้ำดับเพลิง
5. ถังเก็บน้ำดับเพลิง
ในการทดสอบ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา ต้องทำตามแบบฟอร์มที่กำหนดขึ้นมาตามลักษณะ ประเภท การติดตั้ง รวมถึงช่วงเวลาหรือความถี่สำหรับระบบป้องกันอัคคีภัยแต่ละแบบที่แตกต่างกันออกไปแบบฟอร์มสำหรับการทดสอบ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา เป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งมีมาตรฐานเพื่อใช้อ้างอิงภายหลังได้ แต่ควรจะพิจารณาเลือกใช้แบบฟอร์มที่ถูกต้องตรงตามกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในสถานประกอบการ ประการสำคัญ จะต้องมีการบันทึกผลอย่างครบถ้วนและจัดเก็บไว้อย่างดีเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่และทุกเวลาที่ต้องการ
1 ส.ค. 2554
Standpipe and Hose System(3)
ระบบท่อยืนภายในอาคารที่นิยมใช้กันในประเทศไทยมีอยู่ 2 ระบบหลัก ได่แก่
1. ระบบท่อเปียกแบบทำงานอัตโนมัติระบบท่อเปียกแบบทำงานอัตโนมัติ(Automatic-Wet) เป็นระบบท่อยืนซึ่งต่อเข้ากับระบบท่อจ่ายน้ำดับเพลิงที่มีเครื่องสูบน้ำดับเพลิงต่อเข้ากับระบบเป็นแบบยึดติดถาวร ในกรณีที่มีการใช้งาน ระบบแบบนี้สามารถจ่ายน้ำดับเพลิงได้อย่างทันทีโดยอัตโนมัติ (ตามปกติแล้วภายในระบบท่อยืนแบบนี้จะมีน้ำดับเพลิงซึ่งมีแรงดันสำรองอยู่ภายในท่อตลอดเวลา)
2. ระบบท่อเปียกแบบทำงานด้วยมือระบบท่อเปียกแบบทำงานด้วยมือ(Manual-Wet) เป็นระบบท่อยืนที่ต่อกับแหล่งจ่ายน้ำประปาในอาคาร เช่น ระบบน้ำใช้โดยมีความมุ่งหมายให้มีน้ำอยู่เต็มในระบบท่อยืนเท่านั้นซึ่งแหล่งจ่ายน้ำนี้ไม่สามารถให้แรงดันและปริมาณการไหลของน้ำเพียงพออย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการของระบบ ระบบท่อยืนนี้จะรับน้ำดับเพลิงจากแหล่งจ่ายน้ำดับเพลิงภายนอก เช่นเครื่องสูบน้ำของรถดับเพลิง เป็นต้น ห้ามไม่ให้ใช้ระบบท่อเปียกแบบทำงานด้วยมือกับอาคารสูงที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตร และระบบท่อยืนประเภทประเภท 2 และประเภท 3
ระบบส่งน้ำสำหรับท่อยืน จะต้องจัดให้มีความสามารถพอเพียงสำหรับการส่งจ่ายน้ำให้กับอุปกรณ์ฉีดน้ำดับเพลิงที่ใช้งานเป็นระยะเวลาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 30 นาที
ปริมาณการส่งจ่ายน้ำสำหรับท่อยืนประเภทที่ 1 และ 3
1. ต้องมีอัตราการไหลไม่น้อยกว่า 1,893ต้องมีอัตราการไหลไม่น้อยกว่า 1,893ลิตรต่อวินาที (500 แกลลอนต่อนาที) เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที(500 แกลลอนต่อนาที)
2. กรณีที่ระบบท่อยืนมีมากกว่าหนึ่งท่อปริมาณการส่งจ่ายน้ำจะต้องไม่น้อยกว่า 1,893 ลิตรต่อวินาที (500 แกลลอนต่อนาที) สำหรับท่อยืนท่อแรก และ 946 ลิตรต่อนาที (250 แกลลอนต่อนาที) สำหรับท่อยืนแต่ละท่อที่เพิ่มขึ้น กรณีปริมาณการส่งน้ำรวมของท่อยืนเกิน 4,731 ลิตรต่อนาที (1,250 แกลลอนต่อนาที) ให้ใช้ปริมาณการส่งน้ำที่ 4,731 ลิตรต่อนาที หรือมากกว่าได้
3. ระบบส่งน้ำจะต้องมีความดันพอเพียงเพื่อให้มีความดันที่จุดไกลสุดและสูงสุดของท่อยืน 448 กิโลปาสกาล (65 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)ด้วยปริมาณการส่งน้ำ 1,893 ลิตรต่อนาที (500แกลลอนต่อนาที) ที่จุดไกลสุดท้ายและสูงสุดของท่อยืน
4. ในกรณีที่ขนาดของระบบท่อยืนได้มาจากการคำนวณตามหลักการกลศาสตร์ของไหลความดันที่จุดหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงที่อยู่ไกลสุดต้องมีความดัน 448 กิโลปาสกาล (65ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ด้วยอัตราการไหล 1,893 ลิตรต่อนาที (500 แกลลอนต่อนาที) ออกจากหัวฉีด
ปริมาณการส่งจ่ายน้ำสำหรับท่อยืนประเภทที่ 22
1. จะต้องมีอัตราการไหลไม่น้อยกว่า 379จะต้องมีอัตราการไหลไม่น้อยกว่า 379ลิตรต่อนาที (100 แกลลอนต่อนาที) สำหรับวาล์วและสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 40 มิลลิเมตร(1 ½ นิ้ว)
2. สำหรับวาล์วและสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 25 มิลลิเมตร (1 นิ้ว) จะต้องมีอัตราการไหลไม่น้อยกว่า 50 ลิตรต่อนาที
3. ความดันที่จุดหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงที่อยู่ไกลที่สุดจะต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 448 กิโลปาสกาล (65 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)